โครงการสรรหาและคัดเลือกรางวัลสำหรับนักบริหารทรัพยากรบุคคลดีเด่น ประจำปี 2561 (PMAT HR Awards 2018)
ชมรมบริหารทรัพยากรมนุษย์จังหวัดลำพูน ขอประชาสัมพันธ์และเชิญชวนสมาชิกชมรมฯ ในสายงาน HR ส่งประวัติเข้ารับการคัดเลือก
โครงการสรรหาและคัดเลือกรางวัลสำหรับนักบริหารทรัพยากรบุคคลดีเด่น ประจำปี 2561 หรือ PMAT HR AWARDS 2018
โดยคณะอนกรรมการส่งเสริมสถานภาพผู้ประกอบวิชาชีพการบริหารทรัพยากรบุคคล สถาบันพัฒนาวิชาชีพทรัพยากรบุคคล (IHPD) สมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย (PMAT)
เปิดรับสมัครจนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2561 สอบถามหรือขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย Tel: 0 2374 0855 E-mail : kallaya@pmat.or.th (http://www.pmat.or.th) โดยสามารถส่งเอกสารต่างๆในรูปแบบของ PDF ไฟล์ได้
ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม ใบเสนอชื่อ (word) (Pdf)
_______________________________________________
รายละเอียดโครงการ ดังนี้
HR AWARDS เป็นอีกกิจกรรมหนึ่งของสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย ที่พยายาม จะสรรหา นักบริหารงานบุคคลดีเด่น และนักบริหารงานบุคคลดาวเด่น โดยมีวัตถุประสงค์
1. เพื่อสรรหา คัดเลือกและประกาศเกียรติคุณของผู้ประกอบวิชาชีพการบริหารงานบุคคลประจำปีตามที่กำหนด
2. เพื่อให้รางวัลและส่งเสริม เผยแพร่ ยกย่องผู้ประกอบวิชาชีพนี้
3. เพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์และขอบข่ายกิจกรรมของคณะอนุกรรมการส่งเสริมสถานภาพผู้ประกอบวิชาชีพการบริหารทรัพยากรบุคคล ตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริหารสถาบันพัฒนาวิชาชีพทรัพยากรบุคคล
โดยได้แบ่งประเภทรางวัล แบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้
1. นักบริหารทรัพยากรบุคคลผู้ทรงคุณค่า จำนวนไม่เกิน 3 ท่านต่อปี
2. นักบริหารทรัพยากรบุคคลดีเด่น จำนวนไม่เกิน 5 ท่านต่อปี
3. นักบริหารทรัพยากรบุคคลดาวเด่น จำนวนไม่เกิน 10 ท่านต่อปี
คุณสมบัติของผู้สมัคร
1.ประเภทนักบริหารงานบุคคลผู้ทรงคุณค่า
1. เป็นผู้บริหารงานบุคคลอาวุโสประสบการณ์ตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป ระดับบริหารไม่ต่ำกว่า 20 ปี ทั้งที่ยังอยู่ในวงการวิชาชีพ หรือเกษียณอายุแล้ว
2. คุณสมบัติ ผลงานดีเด่นเป็นที่ประจักษ์ตามที่กำหนด
3. ปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพตามที่สมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทยกำหนด
4. ช่วยเหลือและหรือสนับสนุนผู้ประกอบวิชาชีพเดียวกัน
5. เป็นที่ยอมรับและนับถือในวงการวิชาชีพนี้
2.ประเภทนักบริหารงานบุคคลดีเด่น
1. ต้องเป็นนักวิชาชีพทรัพยากรบุคคล ระดับบริหารขึ้นไป มีประสบการณ์ไม่ต่ำกว่า 20 ปี และประสบการณ์ระดับบริหาร หรือเทียบเท่า 10 ปี ขึ้นไป ตามที่คณะอนุกรรมการส่งเสริมสถานภาพผู้ประกอบวิชาชีพการบริหารทรัพยากรบุคคลกำหนด
2. มีคุณสมบัติและผลงานดีเด่นเป็นที่ประจักษ์ตามกำหนด
3. มีประวัติการทำงานและจริยธรรม เป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้อื่นได้
4. ให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนผู้ประกอบวิชาชีพเดียวกัน หรือชุมชน สังคม และประเทศชาติ
3.ประเภทนักบริหารงานบุคคลดาวเด่น
1. ประสบการณ์ในสายวิชาชีพการบริหารทรัพยากรบุคคล ตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป และในระดับบริหารหรือเทียบเท่าอย่างน้อย 5 ปี ในสาขาใดสาขาหนึ่ง ใน 6 สาขา ดังนี้ หรือหลายสาขารวมกันไม่น้อยกว่า 5 ปี ดังนี้
• การจ้างงาน (Employment)
• การบริหารค่าตอบแทน (Compensation)
• การพัฒนาพนักงาน (Employee Development)
• การแรงงานสัมพันธ์ (Labor Relations)
• พัฒนาองค์กร (Organization Development)
• อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงาน HR
2. มีคุณสมบัติและผลงานดีเด่นเป็นที่ประจักษ์ตามที่กำหนด
3. มีพฤติกรรมและจริยธรรมดี เป็นตัวอย่างแก่ผู้อื่นได้
4. ช่วยเหลือและหรือสนับสนุนผู้ประกอบวิชาชีพเดียวกัน หรือชุมชน สังคม และประเทศชาติ
หลักเกณฑ์การตัดสินของคณะทำงานการพิจารณาและตัดสิน
ข้อกำหนด ผลงานเด่นเป็นที่ประจักษ์ 70% กิจกรรมเพื่อสังคม 30%
1. ผลงานเด่นที่ประจักษ์ 70%
ได้แก่ผลจากการวางแผนและดำเนินงานดานวิชาชีพการบริหารงานบุคคลต่างๆที่เป็นการเพิ่มคุณค่า แปลกใหม่ สร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ต่อองค์การและพนักงานในองค์การที่สังกัด โดยอาศัยบทบาทความรับผิดชอบ ประสบการณ์ ความรู้ ทักษะ ความสามารถ ทัศนคติและวิสัยทัศน์ของตนเอง
1.1. การวางแผนเชิงกลยุทธ์ (15 คะแนน) มีบทบาทและส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์ กลยุทธ์และเป้าหมายด้านการบริหารงานบุคคลที่สอดคล้องกัน วิสัยทัศน์ กลยุทธ์และเป้าหมายของ องค์การ
1.2. การบริหารการเปลี่ยนแปลง (15 คะแนน) เป็นแกนนำและหรือร่วมผลักดันให้องค์การ หน่วยงานและพนักงานเกิดการเปลี่ยนแปลงที่เป็นประโยชน์แก่องค์การและพนักงาน
1.3. การพัฒนาทรัพยากรบุคคล (15 คะแนน) จัดตัง้ ระบบวิธีการดำเนินให้บรรลุผลสำเร็จในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้ทันความต้องการและการเปลี่ยนแปลงขององค์การ
1.4. การแรงงานสัมพันธ์ (10 คะแนน) กำหนดระบบและมาตรการส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์ให้เกิดความสงบสุข และเพิ่มผลงานในองค์การและพนักงานโดยรวม
1.5. การบริหารงานบุคล (10 คะแนน) สามารถบริหารงานบุคคลด้านต่างๆ ( เช่น จ้างงาน ค่าตอบแทน ฯลฯ) จนบรรลุผลสำเร็จและเป็นประโยชน์ต่อพนักงานและองค์การโดยรวม
1.6. ประสบการณ์ ความรู้ ทักษะ ความสามารถและทัศนคติส่วนบุคคล (5 คะแนน) ที่เป็นประโยชน์และทำให้สามารถบริหารหรือดำเนินการในงานที่รับผิดชอบจนบรรลุผลสำเร็จ
2 กิจกรรมด้านสังคม ( 30 %)
2.1. กิจกรรมด้านสันทนาการกีฬาและบันเทิงในองค์การ (10 คะแนน) ที่เพิ่มคุณค่าชีวิตการทำงานและก่อเกิดความรักและสามัคคีในหมู่พนักงานและในองค์การ
2.2. กิจกรรมด้านสันทนาการกีฬาและบันเทิงในองค์การ (10คะแนน) ที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม
2.3. กิจกรรมด้านวิชาชีพ (10 คะแนน) เขียนบทความ ให้สัมภาษณ์ เป็นวิทยากรและประกอบกิจกรรมที่เป็นประโยชน์แก่วิชาชีพหรือผู้ร่วมวิชาชีพหรือสถาบันวิชาชีพการบริหารงานบุคคล